คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
History Image

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ชื่อคณะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ที่ตั้ง 398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
สีประจำคณะ ส้ม – แสด
ดอกไม้ประจำคณะ แคแสด

ประวัติความเป็นมา

    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูนครสวรรค์ คือ

1. ให้การศึกษาขั้นพื้นฐานหมวดศิลปศาสตร์และวัฒนธรรมแก่นักศึกษาของสถาบัน เพื่อให้ได้บัณฑิต

ที่มีคุณสมบัติที่สังคมพึงประสงค์

2. ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาสังกัดคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี เพื่อสนองตอบความต้องการกำลังคนในสังคม และเพื่อเสริมสร้างคุณค่าของมนุษย์ให้สูงส่ง ในการดำเนินชีวิต และสร้างความเจริญให้แก่สังคมที่อาศัย

3. เป็นแหล่งในการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาวิชาการด้านมนุษยศาสตร์เชิงวิชาการให้แก่ชุมชน ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท (สถาบันราชภัฏนครสวรรค์, 2536 : 25)

การพัฒนาของคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มุ่งเน้นใน 3 ประเด็น คือ “พัฒนาคน พัฒนาวิชาการ และพัฒนากายภาพ”

1. การพัฒนาคน หมายถึง การพัฒนาคณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร และนักศึกษาให้มีศักยภาพตามแนวทางและหน้าที่ของตน

2. การพัฒนาวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนางานวิจัย การสร้างผลงานทางวิชาการ รวมถึงการบริการวิชาการแก่ชุมชน และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

3. การพัฒนากายภาพ หมายถึง การจัดหาอาคารสถานที่ และเครื่องมือประกอบการปฏิบัติการของทุกสาขาวิชาให้เพียงพอ 

งบประมาณและกิจกรรมในแต่ละปีการศึกษาได้ถูกกำหนดโดยแนวทางข้างต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่เรียนจบจากคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และมีคุณธรรมประกอบกันโดยมีภูมิหลัง ดังนี้

การดำเนินการ

การดำเนินการของคณะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน



  1. เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518
  2. เปิดสอนโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อ.ค.ป)
  3. เปิดรับนักศึกษาภาคปกติ สาขาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.4 ปี) วิชาเอกสังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย นาฏศิลป์ ศิลปะ และภูมิศาสตร์ตามลำดับ เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปีหลังโดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ป.กศ.
  4. มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 คือ พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2 พ.ศ.2527 ) ประเด็นสำคัญในการเปลี่ยนแปลงคือให้การศึกษาวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งทำให้คณะวิชาผลิตบัณฑิตถึงระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาต่าง ๆ นอกเหนือจากปริญญาตรี ครุศาสตร์ที่เปิดสอน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518
  5. เปิดรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาตรีศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) วิชาดนตรี
  6. เปิดรับนักศึกษาในโครงการจัดการศึกษา สำหรับบุคลากร ประจำการ (กศ.บป.) ในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์ และศิลปศาสตร์ โดยเปิดรับนักศึกษาในโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน
  7. เปิดรับนักศึกษาในโปรแกรมวิชาดนตรี ภาษาอังกฤษธุรกิจและวัฒนธรรมศึกษาในสาขาศิลปศาสตร์ระดับ อ.ศศ. และ ศศ.บ. ในส่วนสาขาครุศาสตร์ยังคงเปิดรับนักศึกษาในวิชาเอกต่าง ๆ เหมือนเดิม
  8. ประกาศใช้พระราชบัญญัติ สถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2538 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" และผู้ดำรงตำแหน่งบริหารคณะ ให้ใช้คำว่า "คณบดี" เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2538
  9. เปิดรับนักศึกษาในโครงการ การศึกษาสำหรับเยาวชน (กศ.ยช)
  10. เปิดรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์) สาขา ศิลปศาสตร์ และเปิดรับนักศึกษา โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาศิลปศาสตร์
  11. เปิดรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย สาขาวิชาศิลปศาสตร์
  12. เปิดรับนักศึกษาโปรแกรมวิชานิติศาสตร์
  13. เปลี่ยนสถานภาพจากสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการปรับโครงสร้างการบริหารคณะ
  14. เปิดรับนักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โปรแกรมวิชาภาษาไทย ตามโครงการความร่วมมือกับวิทยาลัยการอาชีพและเทคโนโลยีหนานหนิง
  15. เปิดรับนักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โปรแกรมวิชาภาษาไทย ตามโครงการความร่วมมือกับวิทยาลัยนานาชาติทาเลนต์ กวางสี
  16. เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
  17. เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  18. เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาศิลปกรรม
  19. เปิดหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา และสาขาวิชาศิลปศึกษา