ศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาสังคม

Courses Images

ข้อมูลหลักสูตร

  • ชื่อเต็มปริญญาภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาสังคม)
  • ชื่อย่อปริญญาภาษาไทย : ศศ.บ. (พัฒนาสังคม)
  • ชื่อเต็มปริญญาภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts (Social Development)
  • ชื่อย่อปริญญาภาษาอังกฤษ : B.A. (Social Development)
  • หน่วยกิต : 126

เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่อนาคต อย่างมีความสุข กับครอบครัวพัฒนาสังคม

 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีวิสัยการเรียนรู้ด้วยการใคร่ครวญตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนและต่อสังคม มีค่านิยมเคารพสิทธิของกลุ่มคนในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและยุติธรรมในสังคม โดยมีความเชื่อว่าการพัฒนาสังคมทำให้สังคมเกิดศักยภาพของการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างความเข้มแข็งในสังคม จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นสิ่งจำเป็นรีบด่วนที่ต้องอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่สังคม งานพัฒนาสังคมจำเป็นต้องอาศัยความรอบรู้ทางด้านวิชาการควบคู่กับคุณธรรมจริยธรรม มีลักษณะของความเป็นผู้นำที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาสังคม ให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ข้อมูลการประกอบอาชีพ

  • นักพัฒนาสังคม ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
  • นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) บริษัท องค์กรภาคประชาชน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ มูลนิธิกระจกเงา
  • นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น สถาบันวิจัยทางสังคม รวมถึงสถาบันวิจัยในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ บริษัท องค์กรภาคประชาชน
  • ครูผู้สอนในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
  • ประกอบอาชีพอิสระ

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  • สาวิตรี สอาดเทียน
  • วรภพ วงค์รอด
  • หทัยชนก คะตะสมบูรณ์
  • อุทัยวรรณ ภู่เทศ

ค่าบำรุงการศึกษา

  • 8,200.00 ฿ (ลงทะเบียนไม่เกิน 18 หน่วยกิต)
  • 9,600.00 ฿ (ลงทะเบียน 19 หน่วยกิตขึ้นไป)

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • ม.6 หรือเทียบเท่า

การสอบคัดเลือก

  • มีสอบสัมภาษณ์

ช่องทางติดต่อ

เบอร์โทรศัพท์

โทรศัพท์ 0 56219100 ต่อ 2100

ออนไลน์

Youtube